วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศลาว





สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว มีดังต่อไปนี้

หลวงพระบาง วัดเชียงทอง

            วัดเชียงทองตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยี่ยมชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว



วัดแสนสุขาราม

จุดเด่นของวัดแสนสุขารามคือ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ ที่มีอยู่เพียงองค์เดียวในหลวงพระบาง มีพระหัตถ์ที่งดงามผ่องแผ้ว และหอรอยพระพุทธบาทจำลองด้านข้างหอพระยืน ส่วนพระอุโบสถลงรักปิดทองอย่างสวยงาม เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมีวัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้นสร้างขึ้นเมื่อ คริสศตวรรษที่ 15




วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

           ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก พระบางเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม 




พระราชวังหลวงพระบาง

                 ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวังภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส



วัดวิชุนราช

         ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนนวิชุนราช ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให้วัดวิชุนราช" ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดด เด่น ของวัดวิชุนราช



ตลาดม้ง

          เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่ เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยา



นครเวียงจันทร์ หอพระแก้ว

          หอพระแก้ว อยู่บนถนนเชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงค์ลาว พระเชษฐาธิราช มีประประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา และเมื่อครองบัลลังก์ล้านช้างหลังจากพระโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในศึกสงครามกับสยามประเทศ



วัดสีสะเกด

              ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ตรงข้ามกับหอพระแก้ว เจ้าอนุวงศ์ทรงให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2361 เนื่องจากในสมัยนั้น ลาวตกเป็นเมืองขึ้นของกองทัพสยาม เจ้าอนุวงศ์จึงออกแบบวัดตามอย่างศิลปะไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นสาเหตุที่กองทัพสยามไม่ทำลายวัดแห่งนี้ หลังบุกเข้าสู่นครเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2371 วัดสีสะเกดจึงอาจนับว่า เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองเพราะวัดอื่นๆที่เหลืออยู่ ผนังด้านในของระเบียงที่รอบอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปเงิน และ ดินเผา มากกว่า 2,000 องค์ ส่วนใหญ่ เป็นพระที่สร้างที่เวียงจันทน์ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ปัจจุบันวัดสีสะเกดเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ของลาว




ประตูชัย

          ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเวียงจันทน์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึก ถึงประชาชนชาวลาว ผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิตย์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ใช้ปูนซิเมนต์ที่อเมริกาซื้อมาเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ใน นครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันสร้างเพราะอเมริกาพ่ายเวียดนามเสียก่อน จึงนำปูนเหล่านั้นมากสร้างประตูชัยแทน ตามลักษณะประตูชัยที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส แต่ลักษณะสถาปัตยกรรม ก็ยังคงเป็นลักษณะของลาว วังเวียง หรือ กุ้ยหลิน แห่งเมืองลาว


ปากเซ

          เมืองปากเซ ไม่เคยเป็นถิ่นกำเนิดของอารยะธรรมโบราณเหมือนสุวรรณเขต และ หลวงพระบาง ฝรั่งเศสได้มีการก่อตั้งเมืองเพื่อทานอำนาจของจำปาศักดิ์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคก่อนการเข้ามาตั้งรกราก ของพวกเขมร ปากเซตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำโดนกับแม่น้ำโขง และ มีพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่ง ของสุวรรณเขต เท่านั้น


                                                                                     



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น